รถชนแต่ไม่มีประกัน การนำรถเข้าซ่อม เลือกอู่ซ่อม ตอบทุกปัญหา
หลายคนคงสงสัย หรือมือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์เกิดอุบัติเหตุกับรถของคุณ หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน รถของเราเกิดการชนกับคู่กรณี ไม่ว่าจะเป็นทั้งรถเรามีประกันชนกับรถคู่กรณีที่ไม่มีประกัน และเราเป็นฝ่ายถูก หรือ รถของเราที่ไม่มีประกัน ชนกับรถคู่กรณีที่มีประกัน แต่เราเป็นฝ่ายผิด หากเจอเหตุการณ์ รถชนแต่ไม่มีประกัน แบบนี้เราควรต้องทำอย่างไร?
ไม่ต้องตกใจไปนะคะ วันนี้ Mazda city ได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติเมื่อเจอเหตุฉุกเฉินดังที่กล่าวไปเบื้องต้น
รถไม่มีประกัน แต่เราเป็นฝ่ายถูก
เหตุการณ์แรก รถยนต์ของเราไม่มีประกัน ชนกับรถมีประกัน แต่เราเป็นฝ่ายถูก
หากรถของคุณไม่มีประกัน แล้วถูกรถคู่กรณีที่มีประกันชน และคุณเป็นฝ่ายถูก คุณมีสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ คู่กรณีต้องชดใช้ค่าเสียหายและค่าซ่อมรถให้เรา หากเกิดกรณีนี้ขึ้น อย่าลืมแจ้งลงบันทึกประขำไว้ เผื่อกรณีที่เกิดการเบี้ยวสัญญากันเกิดขึ้น
เหตุการณ์ที่สอง รถยนต์เราไม่มีประกัน ชนกับรถคู่กรณีที่ไม่มีประกัน แต่เราเป็นฝ่ายถูก
เคสนี้จะมีเรื่องน่าปวดหัวตรงที่คู่กรณีของเราไม่ได้ทำประกัน และเขาเป็นฝ่ายผิดไม่ใช่คุณ ฉะนั้นค่าเสียหายทั้งหมด คู่กรณีของเราต้องเป็นคนจ่าย แต่อาจจะน่าปวดหัก็ตรงที่ต้องไกล่เลี่ย และตกลงกันดีๆ อาจมีการต่อรองราคากัน และเราควรแจ้งความ ลงบันทึกประจำวัน อาจจะไปกับผู้เสียหาย หากตกลงราคาต่อรองกันไม่ได้ เผื่อเกิดเหตุการณ์ที่เราจะถูกเบี้ยวค่าเสียหาย จะได้ดำเนินคดีต่อได้
รถไม่มีประกัน แต่เราเป็นฝ่ายผิด
เหตุการณ์แรก รถของเราไม่มีประกัน ชนกับรถคู่กรณีที่มีประกัน แต่เราเป็นฝ่ายผิด
หากรถของเราไม่มีประกัน เกิดการชนขึ้นกับรถคู่กรณี และคุณเป็นฝ่ายผิด ส่วนนี้คุณต้องเตรียมใจไว้เลยว่าต้องรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทุกอย่างเอง อาจมีการตกลงราคาตั้งแต่ตรงนั้น ถ้าเรามีพร้อมจ่ายก็ตัดสินใจจ่ายไปก่อน เพราะบางทีหากเขาไปเข้าซ่อมแล้วค่าเสียหายบานปลายกว่าที่คุยกันไว้ เราอาจต้องจ่ายเพิ่ม บางเคส เราอาจต้องไปลงบันทึกประจำวันกับคู่กรณี เพื่อกันเหตุการณ์ที่เราอาจะเบี้ยวค่าเสียหายแล้วชิ่งได้ ตรงนี้หากเกิดขึ้น บริษัทประกันของเขาจะเข้ามาดูแล และทำเรื่องฟ้องเราได้
เหตุการณ์ที่สอง รถของเราไม่มีประกัน ชนกับรถคู่กรณีที่ไม่มีประกันเหมือนกัน แต่เราเป็นฝ่ายผิด
อันนี้ก็อาจต้องสุ่มดวงกันเสียหน่อย บางรายก็สามารถเจรจาต่อรองกันได้ง่ายๆ แต่บางรายก็อาจพูดยากเสียหน่อย เขาอาจเรียกค่าเสียหายเรา และอาจจะไม่จบในครั้งเดียวก็เป็นได้ เอาใจช่วยทุกท่านที่เจอเหตุการณ์นี้นะคะ ขอให้เจรจากันได้สำเร็จและลุล่วงไปด้วยดีค่ะ
ค่าเสียอะไรบ้างที่เราต้องจ่ายอะไรบ้าง ในกรณีที่เราเป็นฝ่ายผิด
1. ค่าซ่อมรถคู่กรณี
หากเราไม่ได้ทำประกันไว้ แน่นอนว่าค่าเสียหายทั้งหมดเราต้องเป็นคนรับผิดชอบ ตามที่คู่กรณีเรียกร้องมา หรือตามการประเมินของศูนย์ซ่อม หรืออู่ซ่อมที่คู่กรณีให้มาประเมินความเสียหาย
2. ค่าชดเชยกรณีบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
หากเกิดอุบัติและมีการบาดเจ็บเกิดขึ้น ส่วนนี้ พ.ร.บ รถยนต์สามารถช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายในกรณีที่บาดเจ็บหรือเสียชีวิตเกิดขึ้น แต่วงเงินของพ.ร.บ รถยนต์ ไม่ได้ครอบคลุมหรือมีมากมาย เราอาจต้องเตรียมจ่ายค่าส่วนต่างเพิ่มเติมด้วยตัวเอง ตรงนี้ก็อย่าลืมเช็คว่ารถของคุณต่อ พ.ร.บ รถยนต์ ครบไหม หากใครขาดก็รีบไปต่อกันนะคะ เผื่อเกิดเหตุฉึกเฉินขึ้นจะได้ไม่บานปลาย
3. ค่าความเสียหายต่อทรัพย์สินอื่นๆ
ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุที่สร้างความเสียกหายเป็นวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็น การขับรถชนคู่กรณี และชนเข้ากับทรัพย์สินสาธารณะ และหากคุณไม่ได้ทำประกันรถยนต์ไว้ กรณีนี้อาจต้องเตรียมจ่ายค่าเสียหายอ่วมเลยล่ะค่ะ
4. ค่าประกันตัว
ในกรณีขับรถโดยประมาทจนต้องถูกดำเนินคดี ทำให้ถูกควบคุมตัวฝากขัง หากคุณไม่ได้ทำประกันภัยรถยนต์ไว้ ส่วนนี้คุณต้องจ่ายเงินประกันตัวด้วยตนเอง แต่หากทำประกันภัยรถยนต์ไว้ คุณจะมีผู้ช่วยจากบริษัทประกันที่คุณทำไว้ มาช่วยประกันตัวคุณได้
การนำรถเข้าซ่อม
- หาศูนย์บริการ หรือศูนย์ซ่อม
หลายคนมีศูนย์บริการ หรืออู่ซ่อมปะรจำ อาจเป็นบริเวณใกล้บ้าน แต่บางคนก็ังไม่เคยหาข้อมูลว่าควรส่งรถยนต์ของเราซ่อมที่ไหนดี เนื่องจากในปัจจุบันนี้ รถแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ มีเทคโนโลยีการขับขี่ใหม่ๆ การซ่อมอู่ข้างนอก ต้องหาที่ได้มาตรฐานและเชี่ยวชาญในรถรุ่นนั้นๆ พอสมควร แนะนำให้นำรถเข้าซ่อมที่ศูนย์บริการที่น่าเชื่อถือ และมีช่างฝีมือรอบรู้ในรถรุ่นนั้นๆ อย่างดี
นอกจากนี้คุณจะหมดกังวลเรื่องอะไหล่ ว่าจะได้อะไหล่ใหม่หรือเก่า เพราะศูนย์บริการมีมาตรฐาน ปลอดภัย ได้อะไหล่แท้ และชดเชยให้หากมีอะไรเสียหาย ข้อดีของการเข้าศูนย์บริการ
2. แจ้งนำรถเข้าซ่อม
หลังจากมีศูนย์ซ่อมในใจแล้ว ติดต่อนัดหมายวันเข้าซ่อมได้เลย ศูนย์บริการส่วนใหญ่สามารถสอบถามรายละเอียดการซ่อม และประเมินราคาเบื้องต้นได้เลย
เพื่อความปลอดภัย และลดค่าใช้จ่ายที่อาจบานปลายเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน สามารถเลือกทำประกันภัยรถยนต์ได้ตามความต้องการ อยากทำความเข้าใจกับประกันแต่ละประเภท สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ประกันภัยรถยนต์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง แตกต่างกันอย่างไร
เพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง แนะนำให้บันทึกเบอร์โทรฉุกเฉินไว้นะคะ
เบอร์โทรฉุกเฉินเกี่ยวกับการเดินทาง
- 1137 วิทยุ จส.100 (เบอร์โทรฉุกเฉินแจ้งเหตุด่วนบนท้องเพื่อประสานงานต่อ)
- 1146 กรมทางหลวงชนบท (ติดต่อเรื่องท้องถนนเฉพาะพื้นที่ต่างจังหวัด)
- 1197 ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจรตำรวจ
- 1644 สวพ. FM91 (รายงานสภาพจราจรและแจ้งเหตุด่วนบนท้องถนน)
- 1356 ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม (ศูนย์ประสานภารกิจด้านความปลอดภัยระบบการขนส่ง)
- 1690 การรถไฟแห่งประเทศไทย (สอบถามสายรถไฟ ตั๋ว และอื่น ๆ )
- 1584 กรมการขนส่งทางบก
- 1586 สายด่วนกรมทางหลวง
- 1543 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
- 1677 วิทยุร่วมด้วยช่วยกัน (เครือข่ายอาสาสมัคร)
- 1490 บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)
ขอบคุณข้อมูล : https://24insure.com/ , https://www.moneyguru.co.th/ , https://www.petcharavejhospital.com/
ประกันภัยรถยนต์ที่เข้าร่วม ศูนย์ซ่อมตัวถัง และสี Mazda City
- กรุงเทพประกันภัย
- ทิพยะประกันภัย
- ไทยวิวัฒน์
- เมืองไทยประกันภัย
- วิริยะประกันภัย
- ไอโออิกรุงเทพประกันภัย
—— Mazda City ยินดีให้บริการ ——
Inbox : m.me/mazdacity
Link Line : https://line.me/R/ti/p/%40mazdacitythailand
Line ID : @mazdacitythailand
สาขาหัวหมาก : 02-736-388, 085-6612588
สาขารามคำแหง 69 : 091-7727588
สาขาพระราม 3 : 086-3400832
Website : https://www.mazdacity.co.th
Youtube : https://bit.ly/3feMh3E
Related posts:
รางวัลเทคโนโลยีระดับโลก ยนตรกรรมสกายแอคทีฟ เป็นที่ยอมรับในวงการรถยนต์ระดับนานาชาติ ความก้าวล้ำของเทค...
สำหรับคู่ค้า ประกาศความเป็นส่วนตัว บริษัท อาร์เอ็มเอ กรุ๊ป จำกัด สำหรับคู่ค้า ประกาศความเป็นส่วนตัว...
[ninja_forms id=10]